วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4 07/07/2010


การแบ่งประเภทสื่อ


- ตามลําดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- ตามลักษณะการสอน


1.ประสบการณ์ตรง

ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์โดยตรงจากของจริงสถานการณ์จริงหรือการกระทําของตนเอง เช่นการจับต้อง การเห็นเป็นต้น


2. ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียน เรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงซึ่งที่สุดอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้


3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเรื่องที่มีหัวข้อจำกัด


4. การสาธิต
เป็นการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้ลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น


5. การศึกษานอกสถานที่
เป็นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียนอาจเป็นการท่องเที่ยวการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆหรือการสัมภาษณ์เหล่านี้เป็นต้น


6. นิทรรศการ
เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆการจัดนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม


7. โทรทัศน์
เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้หรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจเป็นการสอนหรือบันทึกวีดีโอ


8. ภาพยนต์
เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บันทึกลงฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงและบันทึกเสียง


10. ทัศนสัญลักษณ์
เช่น แผนที่ แผนสถิติหรือเครื่องหมายต่างๆแทนความเป็นจริงของต่างๆ


11. วงจรสัญลักษณ์
เป็นประสบการณ์ที่ที่เป็นนามธรรม เช่นตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงคำพูดในภาษาพูด






สรุปหลักการในการเลือกสื่อการเรียนยการสอน

1. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาบทเรียน
3. เลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะกับลักษณะของผู้เรียน
4. เลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการสอน
5. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความน่าสนใจ
7. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีวิธีการเก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น