วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7 29/07/2010

    เกมการศึกษา


    วันนี้อาจารย์ให้อ่านชีสเกี่ยวกับเกมการศึกษาและอาจารย์ได้ออกไปทำธุระเมื่ออาจารย์กลับมาถึงห้องเรียนก็ได้อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษาวิธีการเล่นความเหมาะสมระหว่างเด็กกับเกมการศึกษาว่าเกมนี้จะพัฒนาเด็กได้ในทางด้านใดบ้างและได้สั่งงานให้คิดเกมการศึกษาคนละ 1 เกมห้ามซ้ำกับตัวอย่างเกมในชีสและได้พูดถึงการไปทรรศนศึกษาที่อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีวันที่ 17-18 ส.ค.
โครงร่างเกมการศึกษา
เกมจับคู่
จุดประสงค์




1. เพื่อฝึกการแยกประเภท
2. เพื่อฝึกการจำแนกสายตา
3. เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักคิดและไตร่ตรอง
4. เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตุ


จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อฝึกให้เด็กได้คิดเป็นทําเป็น
2.การคิดกล้าแสดงออก
3เพื่อฝึกประสาทการรับรู้ทางสายตา
4.เพื่อให้เด็กได้คิดมีหตุมีผล






วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 6 22/07/2010



 เกมการศึกษา



ความสําคัญ

- ทําให้สิ่งที่เป็นนามธรรมในรูปธรรม
- ได้รับประสบการณ์ตรง จําได้นาน
- รวดเร็ว  เพลิดเพลิน  เข้าใจง่าย


ลักษณะของสื่ที่ดี

- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ

หลักการเลือกสื่อ

- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะกับสภาพศูนย์
- เหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา   ทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทําเป็นกล้าแสดงออก

การประเมินในการใช้สื่อ

- พิจารณาจาก ครูผู้ใช้สื่อ  เด็กและสื่อ
- สื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด















คร้งที่5 15/07/2010


ชื่อสื่อ เกมส์การศึกษากล่องจิ๊กซอ

จุดประสงค์


- เพื่อให้เด็กได้รู้จักรูปทรงต่างๆ


- เพื่อฝึกความคิดทางด้านสติปัญญา


- เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักความสามัคคี


วิธีการเล่น

- กล่องจิ๊กซอเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมแต่ละชิ้นมีลักษณะไม่เหมือนกัน เช่น นาฬิกาบอกเวลา บล็อกหย่อนกล่อง จิ๊กซอรูปสัตว์ โดยให้เด็กต่อจิ๊กซอแต่ละชิ้นเด็กสามารถเลือกเล่นตามใจชอบเป็นการฝึกความคิดและจินตนาการของเด็ก

อายุที่เหมาะสมกับการใช้สื่อ


- เป็นสื่อที่เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป







วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4 07/07/2010


การแบ่งประเภทสื่อ


- ตามลําดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- ตามลักษณะการสอน


1.ประสบการณ์ตรง

ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์โดยตรงจากของจริงสถานการณ์จริงหรือการกระทําของตนเอง เช่นการจับต้อง การเห็นเป็นต้น


2. ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียน เรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงซึ่งที่สุดอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้


3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเรื่องที่มีหัวข้อจำกัด


4. การสาธิต
เป็นการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้ลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น


5. การศึกษานอกสถานที่
เป็นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียนอาจเป็นการท่องเที่ยวการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆหรือการสัมภาษณ์เหล่านี้เป็นต้น


6. นิทรรศการ
เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆการจัดนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม


7. โทรทัศน์
เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้หรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจเป็นการสอนหรือบันทึกวีดีโอ


8. ภาพยนต์
เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บันทึกลงฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงและบันทึกเสียง


10. ทัศนสัญลักษณ์
เช่น แผนที่ แผนสถิติหรือเครื่องหมายต่างๆแทนความเป็นจริงของต่างๆ


11. วงจรสัญลักษณ์
เป็นประสบการณ์ที่ที่เป็นนามธรรม เช่นตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงคำพูดในภาษาพูด






สรุปหลักการในการเลือกสื่อการเรียนยการสอน

1. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาบทเรียน
3. เลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะกับลักษณะของผู้เรียน
4. เลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการสอน
5. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความน่าสนใจ
7. เลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีวิธีการเก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก


วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่3 07/01/2010

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนหมายถึงสื่อต่างๆที่เป็่นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้เช่นวิดีทัศน์เป็นสื่อการสอน

ทฤษฎี การเล่นของเพียเจท์ (Piaget)


1. ทฤษฎีการเล่นของเพียเจท์ (Piaget)
นักการศึกษาปฐมวัยที่อธิบายถึงการเล่นโดยนำเสนอเป็นทฤษฎีการเล่นที่รู้จัก กันโดยทั่วไป ได้แก่ เพียเจท์ นักจิตวิทยาชาวสวิสที่เสนอทฤษฎีการเล่นทางสติปัญญา โดยอธิบายถึงขั้นพัฒนาการทางสติปัญญากับขั้นพัฒนาการทางการเล่นที่สัมพันธ์ กัน โดยเพียเจท์อธิบายถึงขั้นการเล่นของเด็กไว้ดังนี้
การเล่นกับตนเอง เป็นการเล่นของเด็กที่ขั้นพัฒนาการอยู่ในขั้นประสาทสัมผัส การเล่นของเด็กจะแสดงโดยการใช้อวัยวะรับสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ โดยรอบ รวมทั้งทักษะกลไกต่าง ๆ
การเล่นทางสัญลักษณ์ เป็นการเล่นของเด็กที่อยู่ในขั้นพัฒนาการ ขั้นการคิดก่อนมีเหตุผล เด็กจะชอบเล่นสมมุติโดยอาศัยการจดจำและประสบการณ์เดิมมาผนวกกับการคิด จินตนาการ แสดงออกโดยการสมมุติ เช่น การเล่นสมมุติเป็นบุคคลต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในโลกความจริงและในโลกแห่งจินตนาการ การเล่นในขั้นนี้เด็กจะสื่อออกมาซึ่งความคิด ความฝัน ในลักษณะของการเล่น การแสดง และการใช้ภาษา
การเล่นทางสังคม เป็นการเล่นที่ต่อเนื่องจากขั้นการเล่นทางสัญลักษณ์ โดยเด็กจะพัฒนาเข้ามาสู่การเล่นตามจินตนาการเพียงลำพัง มาสู่การเล่นกับคนอื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ทางสังคม และใช้ภาษาในการสื่อสารมากขึ้น
การเล่นแบบมีโครงสร้าง เป็นการเล่นที่อยู่ในขั้นพัฒนาการทางสติปัญญา ขั้นการคิดก่อนมีเหตุผล เด็กจะมีการเล่นโดยมีการออกแบบและวางแผนการเล่นกับสื่อวัสดุต่าง ๆ โดยการสร้างสรรค์ตามความคิดที่ออกแบบไว้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเล่นอย่างมีกฎเกณฑ์กติกาของช่วงวัย ต่อมาที่เด็กมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่สูงขึ้นอยู่ในขั้นการคิดแบบ รูปธรรม
การเล่นแบบมีกฎเกณฑ์ เป็นการเล่นที่เด็กเริ่มรับรู้ เข้าใจยอมรับกฎเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ได้ เนื่องจากสติปัญญาได้พัฒนาในขั้นที่สูงขึ้น อยู่ในขั้นการคิดแบบรูปธรรม สามารถเข้าใจถึงการปฏิบัติตามกฎเพื่อให้บรรลุผลของเกมการเล่นนั้น ๆ

ครั้งที่2 06/24/2010

1.อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับสื่อและการตกแต่งบล็อก
2.อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และอาจารย์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มและนำเสนออาจารย์
3.อาจาร์ให้การบ้านให้หาทฤษฏีเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยอ่านและโพสต์ใส่บล็อก

ครั้งที่ 1 06/17/2010

อาจารย์ได้ให้ทำประวัติส่วนตัวและให้สร้างบล็อกเป็นแฟ้มสะสมงานแทนการใช้กระดาษเพื่อลดโลกร้อนและบล็อกที่อาจารย์สั่งทำก็เกี่ยวกับวิชาที่เรียน